บริการ: บีเอสซี อินเตอร์เทค

SERVICE: BSC INTERTEC

IPM

ความหมายของ IPM ( Integrated pest management )
IPM คือ การวางแผนควบคุม ป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะและแมลงแบบบูรณาการ โดยผสมผสานเทคนิคการจัดการหลายวิธีเข้าด้วยกันอย่างมีหลักการ และมีพื้นฐานอยู่บนความรู้ ความเข้าใจในระบบนิเวศน์ของสัตว์พาหะและแมลง เพื่อลดจำนวนประชากรแมลงลง โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด

Integrated Pest Management System

หลักการพื้นฐานในการป้องกันการแพร่กระจายของแมลง

  • 1. การป้องกันไม่ให้เข้ามา (Preventing Access) อาคารสถานประกอบการ จะต้องซ่อมแซมให้มีสภาพที่ป้องกันการเข้า-ออก อาคาร และกำจัดแหล่งที่มีความเสี่ยงที่อาจเป็นทางเข้ามา เช่น รู รอยแตกตามเพดานหรือกำแพง ท่อระบายน้ำ หรือสถานที่สัตว์เหล่านี้สามารถเข้ามาได้ควรอุดรูให้สนิท นอกจากการปรับปรุงอาคารให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเข้ามาของสัตว์พาหะและแมลง แล้ว จะต้องตรวจสอบสินค้า วัตถุและวัสดุที่จะนำเข้ามาในสถานประกอบการว่ามีสัตว์พาหะหรือแมลงติดมาหรือ เปล่า หรือตรวจว่ามีลักษณะของการปนเปื้อนจากมูลหรือร่องรอยการทำลายของสัตว์เหล่า นี้ หรือไม่ ถ้ามีให้แยกออกต่างหากแล้วตรวจสอบอย่างละเอียดหรือแจ้งให้ผู้นำส่งทราบ และส่งสินค้าคืน นอกจากนั้นจะต้องห้ามสัตว์ทุกชนิดเข้าในบริเวณโรงงานและสถานที่ผลิตตลอดจน สถานประกอบการอาหาร ภัตตาคาร
  • 2. การจำกัดวง (Proofing / Exclusion) วิธีนี้เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย การดูแลรักษาความสะอาดเพื่อลดแหล่งอาหาร,น้ำ ตัดต้นไม้ ต้นหญ้าไม่ให้รกรุงรัง เพื่อลดแหล่งหลบซ่อนสำหรับสัตว์พาหะและแมลง สำรวจหาแหล่งอาหาร แหล่งหลบซ่อน และแหล่งเพาะพันธุ์ทั้งภายนอกและภายในอยู่เสมอโดยปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร
  • 3. การทำลาย (Eradication) การกำจัดต้นเหตุของปัญหาแมลงโดยใช้วิธีทางกายภาพ และวิธีอื่น ๆ การทำลายแมลงโดยวิธีใช้สารเคมีจะเป็นวิธีสุดท้ายที่จะใช้ อาจใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาการระบาดและต้องการลดปริมาณลงในทันที

การดำเนินการจัดระบบ IPM

การ จัดระบบ IPM เป็นการจัดการแบบผสมผสานของการสุขาภิบาล, ธรรมชาติ, อุณหภูมิ, เครื่องมือ และสารเคมีในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดสัตว์พาหะนำโรค และสัตว์รบกวน จะใช้สารเคมีต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น

การสำรวจตรวจสอบ (Inspection)

  • - สำรวจและจัดทำแผนที่ สถานประกอบการ สภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาณาเขตบริเวณ บริเวณภายนอกอาคาร รายละเอียดภายในสถานประกอบการ กิจกรรม หรือผลิตภัณฑ์เป็นชนิดใด รวมทั้งสำรวจความชุกชุมของสัตว์พาหะนำโรคตามแหล่งหลบซ่อน แหล่งอาหาร และช่องทางเข้าอาคาร เพื่อทำการวางแผนควบคุมและป้องกัน การบ่งระบุชนิดแมลง (Identification)
  • - จำแนกสัตว์พาหะนำโรค และความชุกชุมว่าเป็นหนู แมลงสาบ แมลงวัน สัตว์อื่น ๆ ชนิดใด ทั้งนี้เพราะหนู หรือแมลงต่างชนิดกันมีแหล่งที่อยู่อาหาร และวงจรชีวิตที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการควบคุมป้องกันและกำจัดได้อย่างเหมาะสม

การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Sanitation)

  • - การปรับปรุงที่อยู่อาศัย (Habitat Modification)
  • - การปิดกั้น / สกัดกั้นทางเข้า-ออก ของแมลง (Proofing / Exclusion)
  • - การดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยของอาคารสถานที่ (House Keeping)

การใช้วิธีการจัดการร่วมกันตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป (Application of two or more procedures)

  • - การปรับปรุงพฤติกรรม (Cultural Methods)
  • - การกำจัดด้วยตนเองและการใช้เครื่องมือ (Physical / Mechanical Method)
  • - การกำจัดทางชีวะภาพ (Biological Method)
  • - การกำจัดโดยใช้สารเคมี (Chemical Methods)

การติดตามประเมินผล (Evaluation)

  • - ประเมินผลการดำเนินงาน โดยการตรวจติดตาม และรายงานอย่างละเอียด โดยสรุปผลสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปเพื่อหาแนวทางใน การป้องกันและแก้ไข
  • - เสนอแนะปรับปรุง
  • - ให้ข้อมูลและให้ความรู้เกี่ยวกับ IPM แก่ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ดูแลสถานประกอบการ

งานบริการ

Service

บริษัท บีเอสซี อินเตอร์เทค จำกัด

เลขที่ 50 หมู่ 7 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150

Tel :0-2533-5588, 0-2532-5031-38
E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Line@ : @bscpest

บริษัท บีเอสซี อินเตอร์เทค จำกัด

เลขที่ 50 หมู่ 7 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150

Tel :0-2533-5588, 0-2532-5031-38
E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Line@ : @bscpest

Services